เคล็ดลับอาหารไทย

เคล็ดลับอาหารไทย กับความละเอียดอ่อน มีอะไรบ้าง

เคล็ดลับอาหารไทย องค์ประกอบสำคัญที่ ‘นอกเหนือ’ จากรสชาติ จะมีอะไรบ้าง!?

เคล็ดลับอาหารไทย รู้หรือไม่ว่า ศาสตร์ การทำอาหาร ของไทย ไม่ได้สำคัญเฉพาะ ‘รสชาติ’ หรือหน้าตา หลังจากออกมาแล้วเท่านั้นนะคะ แต่ยังมี ข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร ขององค์ประกอบ ส่วนอื่น ๆ อีก สังเกตไหมว่า เวลาที่เราไป รับประทานอาหาร ที่ร้านแบบ Fine dining หรือญี่ปุ่น อย่างโอมากาเสะ เราจะรู้สึกอร่อย และอินกับการกิน มื้อนั้น ๆ มากขึ้น ก็เพราะเรื่องราว ระหว่างการกินนั่นไงล่ะ 🙂

สูตรเด็ดอาหารไทย “ไม่มากไป หรือน้อยไป” ในสัดส่วนการปรุง

ศาสตร์ การทำอาหาร

เรากำลังพูดถึง เครื่องเทศ หรือเครื่องปรุงนั่นเอง ที่ช่วยให้อาหารไทยของเรา ดียิ่งขึ้น! และดึงคุณภาพ ของวัตถุดิบออกมา แต่สิ่งที่ควรระวัง และจำไว้คือ ควรใส่ในปริมาณที่พอดี หากใส่มากเกินไป กลิ่นก็จะไปกลบ วัตถุดิบอื่น ๆ หมดได้ แต่ถ้าใส่น้อยเกินไป ก็ไม่ได้กลิ่น หรือสัมผัสไม่ได้อีก ความลงตัว จะทำให้จานนั้นอร่อย และเรียกน้ำย่อย ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ

วัตถุดิบสวย แต่มีจุดประสงค์”

รู้ไหมว่า การหั่นหรือสไลด์ ตกแต่งวัตถุดิบ ให้สวยงาม มันมีจุดประสงค์นะคะ ไม่ใช่ทำไปอย่างนั้น แต่สัมพันธ์กับ ‘ความสุก’ ด้วยค่ะ โดยเฉพาะอาหาร ประเภทผัด ที่ต้องใช้ความไว และสุกพร้อม ๆ กัน เช่น ข้าวผัด ผัดไทย เป็นต้น

อย่าปรุงนาน เตือนแล้วนะ

ข้อนี้สำคัญมาก ๆ เพราะเป็นขั้นตอน ขณะทำอาหาร เพราะการทำนาน ๆ นอกจากอาหารจะเละ รสชาติเปลี่ยน และหน้าตา ไม่น่ากินแล้ว ยังทำให้กลิ่นหายไปอีกด้วย

เคล็ดลับอาหารไทย

การเตรียมวัตถุดิบ ให้เหมาะกับการปรุง ในแต่ละแบบ

อ่านหัวข้อ อาจจะยังงง ว่าผู้เขียนหมายถึงอะไรนะ ? ขอยกตัวอย่างละกันค่ะ เช่น การทอด หลาย ๆ คนอาจจะกลัวการเข้าครัว กลัวการทอด ก็เพราะน้ำมันกระเด็นใช่ไหม ? เราล่ะหนึ่งคน ฮ่า ๆ นั่นก็เพราะว่าการผัด ควรเตรียมวัตถุดิบ ให้แห้งยังไงล่ะ ถ้าเปียกหรือไม่สะเด็ดน้ำออก ไม่ว่าจะน้ำมัน หรือน้ำเปล่า กระเด็นแน่นอน และจะส่งผล ต่อรสชาติของอาหารด้วย

เคล็ดลับอาหารไทย การเรียงลำดับ ก่อน – หลัง ก็สำคัญนะ

อย่างที่บอก เบื้องต้นไปว่า การปรุงรสอาหารให้อร่อย ไม่ได้มีเฉพาะ การปรุงนะคะ เพราะการใส่วัตถุดิบ ก่อนและหลัง เรื่องของความสุก ก็มีผลอย่างมาก อย่างสิ่งที่ต้องการ ให้สุกมาก ก็ใส่ก่อน ต้องการให้สุกน้อย ก็ใส่ทีหลัง ตัวอย่างชัดเจน อย่างอาหารผัด ที่จะต้องใส่กระเทียม หรือขิงลงไปก่อน ก็เพราะความหอม สำคัญมาก ๆ กับอาหารไทย ส่วนตัวเราชอบกระเทียมมาก อย่างสปาเก็ตตี หรือผัดผัก กระเทียมเรียกกลิ่นหอม ได้ดีมากเลยค่ะ หลังจากนั้น จึงใส่ของที่สุกยาก อย่างเนื้อสัตว์ และง่ายอย่างผัก ตามลงไป

เคล็ดลับอาหารไทย

ระดับ ไฟ ในการทำอาหาร สำคัญแค่ไหน ?

การใช้ความร้อน ในการปรุงอาหาร ยิ่งเป็นความร้อนสูง จะยิ่งช่วยดึงกลิ่น ของอาหาร ออกมาได้ดีที่สุด เพราะถ้าปรุงด้วยไฟ ที่เบาหรือต่ำ จะทำให้ มีน้ำออกมาจากส่วนผสมมาก ทำให้รสชาติเจือจาง และกลิ่นหอมน้อยลง

เคยเห็นร้านข้าวผัดปู หรือร้านอาหารตามสั่ง ที่ใช้ไฟแรง ๆ ในการผัด อย่างต่อเนื่องไหมคะ ? ดูความเซียน ความชำนาญ ได้จากความดำเมี่ยม และมันวับของกระทะ ร้านนั้น ๆ กลิ่นอาหารจะหอมมากเลยล่ะ

อย่ายึดติด วิถีการทำ แบบเดิมตลอด ใช้ไอเดียใหม่ ๆ บ้าง

เทคนิคการปรุงต่างกัน ผลลัพธ์ออกมา ก็ย่อมต่างกัน หากเราอยากให้อาหาร มีรสชาติอย่างไร ก็ปรุงแบบนั้น เช่น การหมักกระเทียมดิบ การใส่เกลือ จะช่วยดึงรสชาติ ออกมาได้มากขึ้น ถ้าใช้น้ำมันหมัก ก็ยิ่งทำให้มีกลิ่นหอม เป็นต้น กระเทียมไทย จีน เกาหลี ก็มีความแตกต่างกันอีก

มือใหม่ทำอาหาร มีเมนูมาแนะนำ

1. เมนู ข้าวต้มหมูสับ

ส่วนผสมก็จะมี

น้ำเปล่า

ข้าวสวย

เนื้อหมูสับ

กระเทียมสับ

ผงหรือก้อนปรุงรส

ผักชี (ใส่หรือไม่ก็ได้)

และน้ำมันพืช

วิธีทำ เริ่มจาก

  • ต้มน้ำให้เดือด ก่อนนำผงปรุงรสใส่ลงไป คนให้ละลาย
  • ใส่ข้าวสวยลงไป ต้มไว้จนนุ่ม และพักไว้
  • ตั้งกระทะ ใส่น้ำมัน ผัดหมู และกระเทียมจนแห้ง
  • ปรุงรสตามใจชอบ ด้วยผงปรุงรส
  • ตักข้าวที่ต้มไว้ ใส่ในชาม ใส่หมูสับผัดกระเทียม โรยผักชี พร้อมเสิร์ฟ
  • เคล็ดลับอาหารไทย

2. เมนู สเต๊กไก่นุ่ม พร้อมสลัด

ส่วนผสมที่ใช้

  • เนื้อไก่
  • ผงปรุงรส
  • ซอสพริก
  • ผงปาปริกา
  • เนยสด
  • น้ำมันมะกอก
  • ผักสลัด น้ำสลัดตามชอบ

วิธีทำ เริ่มจาก

  • ทุบเนื้อไก่ก่อน เพื่อทำให้เนื้อไก่นุ่มขึ้น แนะนำเป็นส่วนสะโพก หรืออกไก่
  • หมักเนื้อไก่ ด้วยผงปรุงรส ซอสพริก ผงปาปริกา และน้ำมันมะกอก ประมาณ 30 นาที จนเข้าเนื้อ
  • ตั้งกระทะด้วยไฟปานกลาง ใส่เนยลงไป นำไก่ย่างทั้ง 2 ด้านจนสุกดี
  • นำสเต๊กใส่จาน พร้อมผักสลัด และราดน้ำสลัด พร้อมเสิร์ฟ

เป็นอย่างไรบ้างคะ กับบทความ ที่เรานำมาเล่ากัน นอกจากเรื่องราว ของเคล็ดลับ อาหารไทย แบบนี้แล้ว เว็บไซต์ของเรา ก็ยังมีบทความอื่น ๆ อีกไม่ว่าจะเป็น อาหารฝรั่งเพื่อสุขภาพ อาหารอาเซียน อาหารเอเชีย วิธีเก็บผักแช่แข็ง ฯลฯ เป็นต้น

เรียบเรียงโดย M.Varin

Scroll to Top